« ເມື່ອ: ກຸມພາ 10, 2023, 01:42:42 pm »
เราคงจะเคยได้ยินคำว่า ช่วงเวลาที่มีคุณภาพ หรือภาษาอังกฤษที่เรียกว่า Quality time ซึ่งแน่นอนว่าเวลาตรงนี้นั้นจะต้องเต็มไปด้วยความสุข ความสนุกสนาน ความอิ่มเอมใจ ความรักความห่วงใยของคนที่เรารัก อ้อมกอดที่แสนอบอุ่นแม้จะเพียงแค่วันละครั้ง สองครั้ง แต่อ้อมกอดนั้นก็เปรียบได้กับพลังความรัก และเกราะป้องกันภัยชั้นดีให้กับเด็ก เวลาใดก็ตามที่ลูกรู้สึกว่ากำลังไม่เป็นที่รัก อ้อมกอดจากพ่อแม่นั้นช่วยเยียวยาและสร้างความมั่นใจให้แก่เขาได้อย่างมหาศาล เพราะเขาจะตระหนักได้ว่า เขานั้นเป็นที่รัก
เพราะฉะนั้นแล้ว การที่พ่อแม่ต้องออกไปทำงานทั้งสองคน และมีเวลาให้ลูกได้แค่เพียงในช่วงเวลาหลังเลิกงานหรือแค่วันหยุดเสาร์อาทิตย์ แต่เวลาช่วงนั้นกลับเต็มไปด้วยกิจกรรมที่ทำให้ยิ่งได้ใกล้ชิด กระชับความสัมพันธ์ของครอบครัวได้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น การร่วมมือกันแก้ปัญหาต่างๆ ช่วยกันทำให้กิจกรรมเหล่านั้นผ่านพ้นไปได้ด้วยดี แม้จะมีอุปสรรคมากมาย ส่วนเรื่องการศึกษานั้น พ่อแม่อาจจะวางโครงการให้ลูกได้ลงเรียน eal ที่ย่อมาจาก English as an Additional Language (EAL) ที่เพิ่มทักษะด้านภาษาเข้าไป และสิ่งที่พ่อแม่ควรเสริมต่อมานั้นก็คือสารอาหารที่จำเป็นในการบำรุงสมอง โดยเว็บไซต์ pobpad ได้แชร์บทความไว้ว่า อาหารเด็กบางประเภทอาจช่วยกระตุ้นการเจริญเติบโตของสมอง เสริมสร้างให้สมองของเด็กทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งอาจช่วยพัฒนาความจำและสมาธิของเจ้าตัวเล็กได้ แต่อาหารที่ช่วยบำรุงสมองและเสริมสร้างความฉลาด สารอาหารที่ได้จากการรับประทานอาหารหลัก 5 หมู่นั้นสำคัญต่อการเจริญเติบโตของเด็กและพัฒนาการด้านสติปัญญา เนื่องจากในช่วงปีแรกของชีวิต การเจริญเติบโตและพัฒนาการของร่างกายจะเป็นไปอย่างรวดเร็ว ธาตุเหล็ก เป็นสารอาหารสำคัญสำหรับพัฒนาการสมองและความสามารถด้านกระบวนการคิด ซึ่งธาตุเหล็กที่พบในอาหารมี 2 รูปแบบ คือ ธาตุเหล็กในรูปฮีม (Heme Iron) ที่ร่างกายสามารถดูดซึมได้ง่าย พบในเนื้อสัตว์ สัตว์ปีก ปลา และธาตุเหล็กในรูปอื่น ๆ (Non-Heme Iron) พบได้ในธัญพืช ซีเรียล ขนมปัง ผัก และผลไม้แห้ง เช่น ลูกเกด และแอพริคอต เป็นต้น โดยเด็กอายุ 1-2 ปี ควรรับประทานเนื้อสัตว์และอาหารที่เป็นแหล่งโปรตีน 0.5 ส่วน/วัน หรือประมาณ 45 กรัม ส่วนเด็กอายุ 3-6 ปี ควรรับประทาน 1 ส่วน/วัน หรือประมาณ 90 กรัม ทั้งนี้ การรับประทานอาหารที่เป็นแหล่งวิตามินซีอย่างผักและผลไม้จะช่วยทำให้ร่างกายดูดซึมธาตุเหล็กได้ดียิ่งขึ้นด้วย โคลีน (Choline) มีบทบาทสำคัญต่อการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์และพัฒนาการทางสมองของเด็กทารก รวมทั้งมีผลต่อสมองส่วนที่เกี่ยวข้องกับความจำและความสามารถในการเรียนรู้ด้วย โดยแหล่งอาหารของโคลีน ได้แก่ น้ำนมแม่ เนื้อสัตว์ สัตว์ปีก ปลา ไข่แดง และจมูกข้าวสาลี เป็นต้น