สาเหตุหลักที่ทำให้ลูกอารมณ์รุนแรงโดยพฤติกรรมของเด็กในวัยนี้สาเหตุที่ทำให้เกิดความรุนแรงแบ่งออกเป็น 3 ส่วนด้วยกัน
พัฒนาการทางสมองในด้านของสติปัญญายังไม่สมบูรณ์เต็มที่ จึงมีการแสดงออกทางอารมณ์มากกว่าพัฒนาการด้านอื่น ๆ ส่งผลให้ เด็กก้าวร้าว ไม่สามารถยับยั้งชั่งใจหรือรอคอยอะไรนาน ๆ ได้
เกิดจากความบกพร่องทางสติปัญญา หากพัฒนาการทางสมองของเด็กมีความล่าช้าจะส่งผลกระทบต่อการคิดวางแผนการจัดการที่ไม่เหมาะสมกับวัย
เกิดจากพ่อแม่หรือสมาชิกในครอบครัวที่ไม่ได้สอนเรื่องการจัดการกับอารมณ์ของตนเอง
พฤติกรรมเลียนแบบมาจากครอบครัวที่มีวิธีในการแก้ไขปัญหาด้วยความรุนแรง ใช้อารมณ์ คำพูด หรือการกระทำที่ส่งผลต่อจิตใจของคนในครอบครัว ซึ่งจะทำให้เด็กจดจำและเลียนแบบพฤติกรรมเหล่านั้นเอามาใช้
วิธีแก้ไขพฤติกรรมก้าวร้าวในเด็ก (เพิ่มเติม:
https://www.milo.co.th/blog/วิธีสังเกตว่าลูกก้าวร้าวหรือแค่แสดงจุดยืน)
พ่อแม่ผู้ปกครองควรทำความเข้าใจต่อเหตุการณ์ที่กำลังเกิดขึ้นในขณะนั้นว่าทำไม
เด็กก้าวร้าว และเหตุการณ์ดังกล่าวส่งผลกระทบอย่างไรกับเด็ก โดยอาจสมมุติให้พ่อแม่เข้าไปอยู่เหตุการณ์นั้นแทนแล้วพ่อแม่จะรู้สึกอย่างไร
เมื่อเกิดเหตุการณ์ที่ ลูกก้าวร้าว พ่อแม่ควรจัดการควบคุมอารมณ์ของตนเองให้ดีเสียก่อน จากนั้นค่อยรับฟังปัญหาจากลูกว่าลูกต้องการอะไร เพราะบางครั้งการที่เด็กก้าวร้าวเพียงแค่ต้องการให้พ่อแม่มาสนใจหรือเพื่อต้องการให้ลูกสบายใจจากสิ่งที่ตนเองกำลังกระทำอยู่นั้น
ใช้เวลาอยู่กับลูกให้มากและบอกถึงพฤติกรรมที่ไม่ดีของลูก พร้อมอธิบายด้วยเหตุและผลว่าพฤติกรรมดังกล่าวนั้นไม่ดีอย่างไร ใช้ความรู้สึกของการเป็นพ่อแม่ในการโอบกอดแล้วเล่าถึงปัญหาที่จะตามมาหากลูกไม่มีสติและควบคุมอารมณ์ไม่ได้ จากนั้นค่อยถามปัญหากับลูกว่าหากเหตุการณ์นั้นเกิดขึ้นอีกลูกจะมีวิธีการแก้ไขอย่างไรโดยไม่ใช้ความรุนแรง
ควรมีการทำข้อตกลงหรือกติกาภายในครอบครัว หากมีเหตุการณ์ใด ๆ เกิดขึ้นอีกห้ามใช้ความรุนแรงควรใช้วิธีการพูดจากันอย่างเปิดเผยโดยไม่มีการตำหนิหรือลงโทษโดยใช้อารมณ์
พ่อแม่ควรให้ความยุติธรรมกับทุกคนไม่ให้เกิดความลำเอียง โดยเฉพาะพ่อแม่ที่มีลูกมากกว่า 2 คนขึ้นไปมักจะพบปัญหา เช่น การที่บอกให้ลูกคนหนึ่งหยุดแต่อีกคนหนึ่งยังไม่ยอมบอกให้หยุด อาจทำให้เด็กเกิดความสับสนได้ว่าควรจะหยุดหรือควรจะโมโหต่อไปในเมื่อให้ตัวเองหยุดแต่อีกฝ่ายยังไม่หยุด
เด็กในวัย 2-4 ปี หรือช่วงประถมวัยถือว่ายังเป็นเด็กอยู่มาก พ่อแม่ควรให้ความรักและความเอาใจใส่ให้ดี เพราะเป็นช่วงเวลาที่ลูกยังไม่สามารถควบคุมตนเองด้วยสติปัญญาได้ แต่หากมีอายุที่มากขึ้นลูกจะมีพัฒนาการที่ดีขึ้นได้ ถ้าหากพฤติกรรมความรุนแรงยังไม่สามารถแก้ให้หายได้ควรเข้ารับคำปรึกษาจากแพทย์เพื่อการรักษาที่ถูกต้อง ลูกจะได้เติบโตเป็นคนดีของสังคมต่อไป อย่างไรก็ตาม อย่าลืมศึกษา
กิจกรรมสำหรับลูกสมาธิสั้นไว้ด้วยล่ะ
ที่มาข้อมูลhttps://www.milo.co.th/blog/วิธีสังเกตว่าลูกก้าวร้าวหรือแค่แสดงจุดยืนhttps://www.phyathai.com/article_detail/2127/th/เมื่อลูกก้าวร้าว_พ่อแม่อย่างเราควรรับมือกับพฤติกรรมนี้อย่างไร